สราวุฒิ
ยาพรม 54243269233
- ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเลคทรอนิคส์แบ่งได้ 3 วิธี คือ 1.1 ขั้นเตรียมข้อมูล (input) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่ให้สะดวกต่อการประมวลผลมี 4 วิธี
-การตรวจสอบ
-การจำแนก
-การบันทึกข้อมูลลงสื่อ
1.2 ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) คือ เป็นการนำเอาโปรแกรมที่เขียนขึ้น มาใช้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ได้เตรียมไว้และข้อมูลยังคงเก็บอยู่ใน คอมพิวเตอร์ ซึ่งป็นวิธีการผลิตสารสนเทศต่างๆ เช่น
-การคำนวณ
-การเรียงลำดับข้อมูล
-การสรุป
-การเปรียบเทียบ
1.3 ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นขั้นตอนการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร รายงาน การนำเสนอบนจอภาพ โดยการใช้คอมพิวเตอร์
2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
- บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลเลขฐาน 2 คือ 0,1
- ไบต์ (Byte) เรียกว่า ตัวอักขระ ,ตัวอักษร คือการนำบิตมารวมกัน
- ฟิลด์ (Flied) คือ การนำไบต์หลายๆไบต์รวมกันเป็น เรียกว่าเขตข้อมูล
- เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายๆฟิลด์มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
- ไฟล์ (Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การนำไฟล์หลายๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่าฐานข้อมูล
-รูปแบบของระบบฐานข้อมูล มีอยู่ 3 แบบ คือ
1. แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical Database Model)
2. แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network Database Model)
3. แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Model)
- ระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรคือ
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
2. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล
3. รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล
4. กำหนดระบบรักษาความปลอดภัย,กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
5. เกิดความอิสระของข้อมูล
4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
- การประมวลผลแบบแบช (Batch Processing) คือ การประมวลผลข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้เป็นชุดข้อมูล แล้วจึงนำส่งข้อมูลเหล่านั้นไปทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมกันทั้งหมดทีเดียวซึ่งระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเอาไว้เพื่อรอการประมวลผล อาจจะเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี เป็นต้น เช่นการประมวลผลการเสียภาษีประจำปี การคิดดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร
- การประมวลผลแบบเรียลไทม์ (Real - Time Processing) คือ การประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ บางทีอาจจะเรียกว่า การประมวลผลแบบ Transaction Processing เช่น ระบบเงินฝาก - ถอนเงินด้วย ATM ของธนาคาร ระบบสำรองที่นั่งในเครื่องบิน ระบบการตัดยอดสินค้าคงคลังทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า เป็นต้นการประมวลผลข้อมูลทั้งสองวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบว่ามีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีหรือสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เป็นกลุ่มก่อนแล้วจึงทำการประมวลผลพร้อมกันทีเดียว เช่น การประมวลผลการเสียภาษี จะทำการประมวลผล 1 ปีต่อครั้ง เนื่องจากการคิดภาษีเป็นการคิดจากรายได้ตลอดปี แต่การตัดยอดบัญชีเงินฝากของลูกค้าจำเป็นที่จะต้องทำการประมวลผลทันทีทุกครั้งที่มีการฝากหรือถอนเงิน เพื่อทราบยอดคงเหลือที่ลูกค้ามีอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น